AMD VS Intel

OC 6.5 GHz

ผมตัดต่อเอง

ใช้movie maker ธรรมดานะอิอิ อันที่2

OP ที่ผมตัดต่อเองเป็นไงบ้าง

สำหรับchatกันในบล็กผมคับ

เพลง

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

นิยามของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


 

นิยามของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้ 

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้




ที่มา

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

ระบบ Lan


ระบบ Lan

ชื่อว่าทุก ๆ คนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับระบบเครือข่าย หรือ Network มาบ้างแล้ว เพราะจริง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ก็มีการติดต่อสื่อสารถึงกัน โดยใช้ระบบเครือข่าย เช่น การโทรศัพท์พูดคุยกัน, การดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่การเบิก ถอนเงิน กับธนาคารด้วยเครื่องถอนเงินอัตโนมติ ATM และที่คุณกำลังอ่านข้อมูลผ่านทาง internet อยู่นี้ นั่นคือ คุณกำลังใช้งานในระบบเครือข่ายอยู่เหมือนกัน เราถือว่า internet เป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่มากที่สุดในโลก... สิ่งเหล่านี้พอจะทำให้คุณเข้าใจบ้างไหมว่า ระบบเครือข่ายมีประโยชน์มากมายเพียงใด?


ประเภทของคอมพิวเตอร์1.Main Frame ถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุด มีราคาสูงมาก มักใช้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร เป็นต้น การดูแลจำเป็นจะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญโดยเฉพาะ
2.Mini Computer or LAN คอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดกลาง ถึงขนาดเล็ก การลงทุนไม่สูงมากนัก ถือได้ว่าคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดในธุรกิจ SME
3.Personnel Computer คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล


เครือข่าย LAN กับ WAN1.Local Area Network (LAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับท้องถิ่น เช่นภายในตึกเดียวกัน
2.Wide Area Network (WAN) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล เช่นระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ


สำหรับระบบเครือข่าย หรือ Network ที่จะกล่าวต่อไป จะเน้นในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือ LAN (Local Area Network)
Network System - ระบบเครือข่ายระบบเครือข่าย คือ การนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาต่อพ่วงกัน เพื่อใช้ในการสื่อสารถึงกัน ใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้ง ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ทำให้ประหยัดทรัพยากรในการใช้งาน เช่น printer, harddisk เป็นต้น ระบบเครือข่าย ที่เป็นที่นิยมได้แก่ ระบบแลน (LAN : Local Area Network)



Peer to Peerระบบเครือข่ายแบบ Peer to Peer เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เหมาะสำหรับหน่วยงาน ที่มีคอมพิวเตอร์น้อยกว่า 10 เครื่อง ระบบ Peer to Peer นี้ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง สามารถเข้าไปใช้ไฟล์ที่เก็บบนเครื่องไหนก็ได้ ซอรฟ์แวร์ที่ใช้คือ Windows for Workgroups, Windows 95,98,2000 การติดตั้งเพียงแต่เพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Lan Card ในแต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีต่อสายแลน เข้าไปสู่ อุปกรณ์ที่เป็นตัวกลาง ซึ่งเรียกว่า HUB 


ข้อดีของการต่อแบบ Peer to Peer
-ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับการต่อ Network แบบอื่น ๆ
-สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
-ง่ายในการติดตั้ง และสามารถขยายต่อไปในอนาคตได้ดี






Client / Serverระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆ


ซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่าย คือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น


ข้อดีของการต่อแบบ Client / Server-สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
-มีระบบ Security ที่ดีมาก
-รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี
-สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง
ประเภทของระบบเครือข่าย


ประเภทของระบบเครือข่าย
Peer To Peerเป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์(Distributed System) โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกัน โปรแกรมที่ทำงานแบบ Peer To Peer คือ Windows for Workgroup และ Personal NetwareClient / Serverเป็นระบบการทำงานแบบ Distributed Processing หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไป
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topology
ระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง (Node A) ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง (Node C) จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ Node C ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ Node C ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันที

แบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล IBM กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบ

แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์ นี้จะใช้อุปกรณ์ Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า

แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน

เครือข่ายแบบไร้สาย ( Wireless LAN) อีก เครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน (LAN) ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย
โทรศัพท์มือถือหรือ Cellular Network ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบโครงสร้างแบบไร้สายด้วย ลักษณะการทำงานจะเป็นรูป รังผึ้ง

http://www.bcoms.net/network/intro.asp
สถาปัตยกรรมเครือข่าย
(Network Architecture)



เมื่อมีการสื่อสารข้อมูลกัน นั่นคือย่อมต้องมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง


ติดต่อกันต้องมีการเพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลนั้นสำเร็จไปได้ด้วยดี ใน การ ใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตราฐานก็คงดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไรในการสื่อสารข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามใน การ สื่อสาร ข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ที่ต่างผู้ผลิต หรือต่างรุ่น ก็อาจจะทำให้เกิดความแตกต่าง ในการกำหนด รูปแบบ ของข้อมูล และรูปแบบการส่งรับข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องคิดหาซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการ เชื่อมโยง ความแตกต่างกันนั้นให้สามารถเข้าใจกันได้ แล้วลองนึกดูเล่นๆว่าถ้าในเครือข่ายการสื่อสาร ข้อมูลหนึ่งมี อุปกรณคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน 50 แบบ เชื่อมต่อกันเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน จะต้องใช้ ซอฟแวร์ที่พัฒนา มาระดับใดจะทำให้ทำงานได้อย่างราบรื่น






ด้วยปัญหาดังกล่าว ทำให้องค์กรอิสระ หรือกลุ่มผู้ผลิตต่างๆ ได้พยายามพัฒนามาตราฐานการ


สื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ยึดเป็นแบบในการผลิตสินค้า และพัฒนาสินค้า ของตนให้เป็นระเบียบและเป็นระบบเดียวกัน หรือสามารถใช้ร่วมกันได้ แต่ก่อนที่จะกำหนดมาตราฐานหนึ่ง ขึ้นมา ก็จำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดโครงสร้าง หรือสถาปัตยกรรมของการสื่อสารข้อมูลขึ้นมาก่อน และก่อนที่ เราจะเริ่มทำการศึกษาถึงโครงสร้าง หรือ สถาปัตยกรรมการติดต่อสื่อสารข้อมูล เราจะมาทำการรู้จักคุ้นเคย กับศัพท์เทคนิค หรือนิยามที่สำคัญในการศึกษาเรื่องของสถาปัตยกรรมเครือข่ายกันก่อน


นิยาม






เลเยอร์ (Layer) เพื่อลดปัญหาความยุ่งยาก และสับสนในการจัดการติดต่อสื่อสารข้อมูล โครง


สร้างของการสื่อสารข้อมูลภายในอุปกรร์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็นชั้นๆ (level) เรียกว่า เลเยอร์ (Layer) ซึ่งแต่ละเลเยอร์จะมีขบวนการลำดับการทำงานของตนเอง และในแต่ละเลเยอร์จะมีหมายเลขลำดับ (N) ชื่อ รายละเอียด และหน้าที่การทำงานของตนแตกต่างกันออกไป


โปรโตคอล (Protocol) ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายมีคำศัพท์ที่มี


ความหมายใกล้เคียงอยู่ 2 คำ คือ เอนทิตี้ (Entity) และระบบ (System) อธิบายอย่างง่าย ๆ เอนทิตี้นั้น ได้แก่ แอปพลิเคชั่นโปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล ไฟล์ข้อมูล เป็นต้น ส่วนระบบก็ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัล หรือรีโมทเซนเซอร์ เป็นต้น ในการที่เอนทิตี้จาก 2 แหล่งจะสามารถส่อสารกันได้นั้น เอนทิตี้ทั้งสอง ต้อง "พูดจาภาษาเดียวกัน" ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการกำหนดลักษณะการสื่อสาร รูปแบบและวิธีการสื่อสาร ดังนั้น คำ จำกัดความของโปรโตคอลก็คือ กลุ่มหรือเซ็ตของขั้นตอน รูปแบบ ลักษณะหรือวิธีการสื่อสารในการทำให้ ้เอนทิตี้สามารถสื่อสารกันได้


ในสถาปัตยกรรมเครือข่าย การสื่อสารกันระหว่างระบบหรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์


โปรโตคอลแบบหนึ่งจะใช้สำหรับการสื่อสารระหว่างเลเยอร์ชั้นที่ N ของเครื่องหนึ่งกับเลเยอร์ชั้นที่ N เดียวกัน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกเครืองหนึ่ง ซึ่งในระหว่างการสื่อสารข้อมูลกันจริง ๆ นั้น เลเยอร์ชั้น N ของอุปกรณ์ ทั้งสองจะทำการสื่อสารผ่านเลเยอร์ชั้นล่าง ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ "กายภาพ" ผ่านสื่อกลางในการสื่อสาร แต่ ด้วยแนวคิดแล้วจะเป็นสื่อสารกันโดยตรง ในแต่ละชั้น จะเรยกการวื่อสารแบบนี้ว่า "การสื่อสารแบบเสมือนจริง" (Virtual Communication)


อินเตอร์เฟซ (Interface) ในการอินเตอร์เฟซหรือการติดต่อสื่อสารระหว่างเลเยอร์ชั้น N และ


ชั้น N+1 หรือชั้นที่ N-1 โดยทั่วไปเลเยอร์ที่อยู่ชั้นล่างจะเป็นผู้ทำงานให้กับเลเยอร์ที่อยู่ชั้นบน ถ้าหากมีการ เปลี่ยนแปลงขึ้นในเลเยอร์ชั้นใด เลเยอร์ในชั้นอื่นๆ จะไม่มีผลกระทบกระเทือนเลยตราบใดที่อินเตอร์เฟซ ระหว่างเลเยอร์นั้นยังคงเหมือนเดิม




สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)


ในการสื่อสารข้อมูลระหว่าง Host A ไป Host B โดยผ่านระบบเครือข่าย ดูเสมือนว่า Host A


นั้นส่งข้อมูลไปยัง Host B แบบเลเยอร์ต่อเลเยอร์กันโดยตรง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนการส่งข้อมูลจาก Host A ไปยัง Host B จะทำเป็นลำดับดังรูปต่อไปนี้


M = Message ข่าวสารหรือข้อมูล H = Header ส่วนหัวของเฟรมข้อมูล T = Tailer ส่วนท้ายของเฟรมข้อมูลรูป การส่งการรับข้อมูลผ่านชั้นเลเยอร์ของสถาปัตยกรรมเครือข่าย


จากภาพแสดงให้เห็นขั้นตอนการทำงานที่แท้จริงของการสื่อสารข้อมูลระหว่าง ผู้ส่ง (Host A)


และผู้รับ (Host B) จะเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้






1. ข่าวสาร M ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์ข้อมูล จะเริ่มต้นการสื่อสารจากเลเยอรืชั้นบนสุดคือเลเยอร์ 7 โดย


ข่าวสาร M จะถูกส่งจากเลเยอร์ 7 ให้กับเลเยอร์ 6 โดยผ่านทางอินเตอร์เฟซ 6/7


2. เมื่อเลเยอร์ 6 ได้รับข่าวสาร M มาแล้ว จะทำการเปลี่ยนแปลงรหัสของข่าวสาร แล้วส่งต่อไปยัง
เลเยอร์ 5 โดยผ่านอินเตอร์เฟซ 5/6


3. เลเยอร์ 5 จะไม่ทำการเปลี่ยนแปลงอะไรกับข่าวสาร M เพียงแต่จะช่วยควบคุมการสื่อสาร หรือการไหลของข้อมูล เช่น ถ้าเลเยอร์ 6ของเครื่องผู้รับยังไม่พร้อมที่จะรับข่าวสารจากผู้ส่งก็จะบกให้เลเยอร์ 5 ของเครื่องผู้ส่งให้หยุดรอ หรือ อาจจะให้ยกเลิกการส่งข่าวสารนั้น


4. เมื่อข่าวสารผ่านอินเตอร์เฟซ 4/5 จากเลเยอร์ 5 มายังเลเยอร์ 4 ก็จะแบ่งข่าวสาร M ออกเป็น
แพ็กเกจ M1 และ M2 เพื่อเตรียมส่งต่อให้กับเลเยอร์ 3 เพราะเลเยอร์ 3 ต้องการข้อมูลที่มีขนาดจำกัด นอก จากนั้นในเลเยอร 4 ยังมีการเพิ่มส่วนหัวของแพ็กเกจ(H) เพื่อกำหนดลำดับที่มาของแพ็กเกจเพื่ออำนวย ความสะดวกให้แก่ เลเยอร์ 4 ของเครื่องผู้รับในการจำแนกว่าแพ็กเกจใดมาก่อนมาหลัง เพื่อป้องกัน ความ ผิดพลาดในการรวมแพ็กเกจต่างๆ นั้นกลับมาเป็นข่าวสาร M ได้อย่างถูกต้อง
5. สำหรับเลเยอร์ 3 เมื่อรับแพ็กเกจข้อมูลมาจากเลเยอร์ 4 แล้วจะทำหน้าที่ตัดสินใจว่าแพ็กเกจ


ใดควรจะออกไปทางช่องทางสื่อสารไหน หรือเส้นทางใด และจะใส่บิตส่วนหัว H ของเลเยอร์ 3 เข้าไปกับ แพ็กเกจข้อมูลด้วย


6. เลเยอร์ 2 เมื่อรับแพ็กเกจข้อมูลจากเลเยอร์ 3 แล้วก็มีหน้าที่ในการควบคุมการส่งข้อมูลจาก


ต้นทางไปยังปลายทางให้ถูกต้องแน่นอน โดยเลเยอร์ 2 จะเพิ่มบิตส่วนหัว H และบิตปิดท้าย T ของตนเข้าไปกับ ข่าวสารเพื่อในการทำการตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการส่งข้อมูล โดยเลเยอร์ 2 ของ เครื่องผู้รับจะเป็นผู้ตรวจสอบ


7. เลเยอร์ 1 คือ เลเยอร์ที่ผู้ส่งจะทำการส่งข้อมูลออกจากเครื่องส่งไปจริงๆ จากต้นทางไปยังอีกปลายทางโดยผ่านทางสื่อกลางสื่อสาร


8. เมื่อข้อมูลต่าง ๆ ได้ส่งไปเครื่องผู้รับแล้ว ขั้นตอนการทำงานในแต่ละเลเยอร์ของเครื่องผู้รับก็จะทำงานย้อนกลับกันกับการทำงานในเลเยอร์ชั้นเดียวกันของเครื่องผู้ส่งจากชั้นล่างสุดขึ้นไปชั้นบนสุด


แม้ว่าโครงสร้างของเครือข่ายจะแบ่งออกเป็นหลายเลเยอร์ แต่ในแต่ละเลเยอร์ก็จะมีปัญหาเกิดขึ้น


ในลักษณะคล้ายคลึงกันคือ


- ปัญหาการเชื่อมโยงการสื่อสาร และการเชื่อมโยงเทอร์มินัล


- ปัญหาการส่ง - รับข้อมูลไม่ว่าจะเป้นในการเชื่อมโยงแบบ simplex, half-duplex,full-duplexซึ่งจะต้องกำหนดว่าจะใช้กี่ช่องทางการสื่อสารสำหรับ 1 เส้นทางการเชื่อมโยง


- ปัญหาการควบคุมการเกิดความผิดพลาด


- ปัญหาอัตราเร็วของการส่ง และรับข้อมูลไม่เท่ากัน


- ปัญหาการมัลติเพล็กซ์หลายช่องทางเข้าสู่ทางสื่อสารเดียว


ในการแบ่งโครงสร้างเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ และกำหนดหน้าที่การทำงานให้ ในแต่ละเลเยอร์


นั้นมีหลายองค์กรอิสระ และหลายบริษัทผู้ผลิตได้พยายามกำหนดรูปแบบมาตราฐานขึ้นใช้กัน และรูปแบบของ สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่ถือว่าเป็นมาตราฐานสำหรับระบบเปิดมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ สถาปัตยกรรมเครือข่าย รูปแบบ OSI ซึ่งกำหนดขึ้นโดยองค์กร ISO

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่ายแบบ LAN(2)

2)ระบบเครือข่ายแบบ LAN

ระบบเครือข่ายหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า LAN ( Local Area Network ) นั้นก็คือ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกัน เพื่อต้องการให้ เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้น สามารถที่จะส่ง หรือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ แล้วทำไมเราต้องใช้ระบบเครือข่ายละ ลองนึกดูว่าแต่ก่อนเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง การทำงานต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่ที่เครื่องเดียว แต่ในองค์กร หรือตามบ้านเองก็ตามแต่หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองเพิ่มขึ้นมา ความต้องการในการ ที่จะต้องมีการนำข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง มายังอีกเครื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้น เป็นแน่ หาเป็นแรก ๆ ที่ยังไม่มีระบบเครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็คงใช้ Diskette ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง และนั่นแหละคือความยุ่งยาก น่าเบื่อหน่าย และความไม่สะดวกต่าง ๆ ในการทำงาน ลองนึกภาพดูแล้วกันว่าหากว่าต้องการCopy File ที่มีขนาดใหญ่กว่าความจุของแผ่น Diskette เราก็ไม่สามารถที่จะทำการ Copy ได้ และนั่นแหละ เขาก็เลยต้องหาวิธีการต่าง ๆมาทำให้เครื่องสองเครื่องหรือมากกว่า สามารถที่จะส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โดยการนำเอาสายสัญญาณมาทำการเชื่อม ต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถที่จะส่งสัญญาณหากันได้โดยผ่านระบบสายสัญญาณต่าง ๆ ที่นำมาเชื่อมต่อ และรูปแบบในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อนี้ก็มีหลายรูปแบบ และบางคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับคำว่า Ethernet คืออะไร เพราะว่าเป็นคำพูดที่ได้ยินบ่อย ๆ อธิบายนิดหนึ่งแล้วกัน คำว่า Ethernet เป็นคำเรียกที่ใช้เรียกระบบเครือข่าย ที่มีการส่งข้อมูลกันที่ความเร็ว 10Mbps ถ้าเป็นคำว่า Fast Ethernet ก็จะหมายถึงเป็นการส่งข้อมูล ของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps และถ้าเป็นคำว่า Gigabit Ethernet ก็จะหมายถึงความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps ซึ่งการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายในปัจจุบันนี้ใช้ โปรโตคอลที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) ปัจจุบันนี้ระบบเน็ตเวิร์ก หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์และองค์กร และสถาบันการศึกษาไปแล้ว การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ การส่ง E-mail ภายในองค์กรหรือระบบอินทราเน็ต การเชื่อมต่อระยะไกลด้วยระบบ Remote Access การประชุมผ่านวีดีโอ (Video Conference) สิ่งเหล่านี่ต้องใช้ระบบเน็ทเวิร์กเป็นพื้นฐานในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันทั้งสิ้น ระบบเน็ทเวิร์กจะหมายถึงการนำคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้น
ไปมาเชื่อมต่อกัน เพื่อที่จะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน

ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณแลนนั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง CPU ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือ


ข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบคือ

เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Server - based networking)

เป็นการเชื่อมต่อโดยมีเครื่องบริการอยู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ ที่เครื่องผู้ใช้หรือสถานีงาน (Workstation) ร้องขอ รวมทั้งเป็นผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบเครื่องผู้บริการในระบบเครือข่ายชนิดนี้อาจมีได้ 2 รูปแบบคือ

เครื่องบริการแบบอุทิศ (Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่ว ๆไปได้
ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องที่มีราคาสูงได้
เครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน


เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to Peer networking)
เป็นการเชื่อมต่อที่เครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้และเครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง นั่นคือเครื่องทุกเครื่องเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) นั่นเอง ในระบบเครือข่ายประเภทนี้การติดต่อระหว่างแต่ละเครื่องจะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีข้อเสียคือประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลด้อยกว่าแบบแรก ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการใช้งานการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมาก ๆ

โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้

1.โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที

2.โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกันถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก

3.โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลง
ก่อน

4. โครงสร้างแบบผสม (Hybird Network) ลักษณะสุดท้ายของของโครงสร้างแบบนี้ก็คือการนำเครือข่ายๆ ย่อยๆ ที่มีโครงข่ายตามแบบที่ผมกล่าวข้างต้นทั้ง สามแบบมารวมกัน หรือ เชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ลักษณะแบบนี้ยังมีชื่อเรียกเฉพาะอีกด้วย เช่น โครงสร้างแบบต้นไม้(Tree หรือ Hierachical หรือ Mesh) ก็คือเครือข่ายผสมที่เกิดจากการนำเอาเครือข่ายที่มีโครงสร้างแบบบัสและแบบสตาร์มาผสมกัน หรือโครงสร้างแบบไร้รูปแบบ (Mesh) ซึ้งก็คือโครงสร้างแบบสตาร์ผสมกับบัสที่เชื่อมต่อกันแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน

5. โครงสร้างเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless Network) ที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับโครงข่ายข้างต้นนั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กันสำหรับเครือข่ายแบบใช้สายแต่เนื่องจากปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีเครือข่ายแบบใหม่เกิดขึ้นมา ที่เรียกว่าเครือข่ายแบบไร้สาย(Wireless) จะใช้คลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล จึงทำให้แตกต่างกันออกไป และโครงสร้างแบบนี้ได้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ Peer-to-Peer และ Client Server นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือหรือ Cellular Network ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบโครงสร้างแบบไร้สายด้วย ลักษณะจะคล้ายๆเป็นรูปรังผึ้งเทคโนโลยีของระบบเครือข่าย เป็นรูปแบบการสื่อสาร(Ethernet) ในระบบเน็ทเวิร์กหรือที่เราเรียกว่า โปรโตคอล(Protocal) ในระบบแลนซึ้งในเนื้อหานี่ผมจะกล่าวถึงความหมายของมาตราฐาน IEEE และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Ethernet และ Protocal รวมทั้งความรู้พื้นฐาน
เกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายเบื้องต้นโปรโคตอลมาตรฐานสำหรับเครือข่ายIEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) และ EIA (Electronics-Industries association) เป็นหน่วยงานสากลที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของการออกแบบผลิตภัตณ์อิเล็กทรอนิกส์



ที่มา
http://rattana555.blogspot.com/2009/01/blog-post.html

http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20net7.htm
http://www.dld.go.th/ict/article/network/netw08.html

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

2. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง

3. สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น

4. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น

5. ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน

6 ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที



ที่มา
http://www.it.coj.go.th/networkadventage.html

http://blog.eduzones.com/banny/3478

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nong-mod&month=12-2007&date=05&group=7&gblog=5

ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความสำคัญของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เช่นเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ พัฒนามาเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถและทำงานได้มากขึ้น จนกระทั่งคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์ทำงานในรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ในอดีตเครือข่ายคอมพิวเตอร์คือการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาเป็นสถานีบริการหรือที่เรียกว่า เครื่องให้บริการ (server) และตัวไมโครคอมพิวเตอร์ตามหน่วยงานต่างๆ เป็นเครื่องใช้บริการ (client) โดยมีเครือข่าย (network) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จากจุดต่างๆ ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์คือการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความสำคัญและได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะสามารถสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท ในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีความสามารถในการลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงเช่นมินิคอมพิวเตอร์ ก็สามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์หลายเครื่องต่อเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยให้ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นสถานีบริการที่ทำให้ใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ เมื่อกิจการเจริญก้าวหน้าขึ้นก็สามารถขยายเครือข่ายการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเพิ่มจำนวนเครื่อง หรือขยายความจุข้อมูลให้พอเหมาะกับองค์กรได้
ในปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่สามารถลดการลงทุนได้โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงจากไมโครคอมพิวเตอร์กลุ่มเล็กๆ หลายๆ กลุ่มรวมกันเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยสภาพการใช้ข้อมูลสามารถทำได้ดีเหมือนเช่นในอดีตที่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทที่สำคัญต่อหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

- ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถทำงานพร้อมกัน

- สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์มากขึ้น

- สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้คุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกัน ใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน

- ทำให้ลดต้นทุน เพราะการลงทุนสามารถลงทุนให้เหมาะสมกับหน่วยงานได้

ที่มา http://www.thaigoodview.com/roomnet/roomnet46/IT46_6/index.html-doc2.htm

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์




ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งตามลักษณะการเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์ หรือระยะทางการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ



- ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN)

หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระยะใกล้ภายในสำนักงาน หรืออาคารเดียวกัน หรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตรไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ จะเชื่อมต่อกันโดยใช้ สายสัญญาณ ได้แก่ สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วนำแสงตัวอย่างเช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ภายในอาคารหรือบริษัทเดียวกัน ระบบเครือข่ายท้องถิ่น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน ในด้านการใช้ทรัพยากร ของระบบร่วมกัน หรือสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ระบบ LAN ช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า



- ระบบเครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)

หมายถึง การเชื่อมต่อ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) หรือเรียกว่าระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง แต่ระยะทางยังคงใกล้กว่าระบบ WAN (Wide Area Network) ได้แก่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันภายในเมืองเดียวกันหรือจังหวัดเดียวกัน ในเขตเดียวกัน เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก เป็นต้น



- ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network : WAN)

หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ระยะไกล ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก เช่น ระหว่างประเทศ การเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วโลก เนื่องจากเป็นการติดต่อสื่อสารระยะไกล อัตราการรับส่งข้อมูลจึงต่ำ และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง การสื่อสารระยะไกล จำเป็นต้องมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณ คือ โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสาร และสามารถนำเครือข่าย LAN มาเชื่อมต่อกัน เป็นเครือข่ายระยะไกลได้ จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน) ตัวอย่างของเครือข่ายระยะไกล เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบงานธนาคารทั่วโลก เครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น

ที่มา : http://www.piacec.moe.go.th/

: http://blog.eduzones.com/banny/3475

: http://thaigoodview.com/node/31559

: http://www.ketkwanchai.info/stusy4.html

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

รับจัดสเปคคอม

คัยจะที่ซื้อคอมใหม่ปรึกษาเราได้นะ

ในเมล์เราอ่ะnokweed2@hotmail.com

บอกงบประมาณและจุดประสงค์ในการซื้อด้วยนะะะ

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ปัญหาระหว่างAMDและINTEL

สำหรับทุกคนแล้วผมคิดว่าส่วนมากท่านคงซื้อคอมโดยไม่รู้อะไรเลยซักนิด ผมจะมาแก้ไขให้ทุกท่านกระจ่างเอง สำหรบAMDแล้วมันก็คือCPUตัวหนึ่งซึ่งผมคิดว่าบางท่านที่ทำลังอ่าน ผมคิดว่า(โดยส่วนตัวนะ)ถ้าเรื่อง คุณภาพผมไม่เถียงว่าIntelจะดีกว่า(โดยเฉพาะพวกตระกูลcore I)แต่ถ้าเป็นเรื่องราคานั้นAMDถูกกว่าท่านลองคิดว่าถ้าท่านมีเงิน30000บาทท่านอยากได้คอมแรงๆท่านก็ซื้อAMDเพราะราคามันถูกแค่CPUกับmainboardก็แค่14000บาท(รุ่นPhenom ll x6 กับ Asus M4A785-TD V EVO) แต่ถ้าท่านซื้อ intel i7ซื้อราคาแค่CPUมันก็20600บาทแล้ว นะ นาโนะ ก็ลองคิดดูนะ ถ้าซื้อAMD ท่านยังเหลือเงินไปอัดRAMดีกว่าไหม?(อัดแม่ง16GBไปเลย)แล้วก็AMDเป็นระบบ6หัว 3.0Gh แต่ i7 มันมีแค่4หัวนะอีกอย่างนะAMDจะมีแบบx8และx12 แล้ว แต่ถ้าเป็นเรื่องการประมวลผล ผมคิดว่ายังไงก็Intel นะ ดีกว่าอยู่แล้วแต่ถ้าท่านอยากได้คอมถูกและแรงไว้สำหรับเล่มเกม ดูหนัง ตัดต่อ... ด็ใช้AMD ดีกว่านะ แต่ถ้าท่านอยากได้คอม
เพื่อไปแปลงไฟล์ ทำอนิเมะ(ผมคิดว่ามันไม่ต่างกันหรอกAMDก็ทำอนิเมะได้พอๆกับIntelนะ)

Intel Core I7 Quad Core

AMD Phenom ll x6



AMDจะเปิดตัว x8 กับ x12






ทุกคนส่งบล็อกในแสดงความคิดเห็นนะ